ดาวฤกษ์และกลุ่มดาว





ดาวฤกษ์ Star






ดาวฤกษ์เกิดขึ้นจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นรวมตัวกัน ซึ่งเรียกว่า เนบิวลา เมื่อก๊าซร้อนในเนบิวลาอัดแน่นจนมีอุณหภูมิสูงถึง 10 ล้านเคลวิน จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นหลอมรวมไฮโดนเจนให้เป็นฮีเลียม กำเนิดเป็นดาวฤกษ์  ดาวฤกษ์ที่เห็นบนท้องฟ้าส่วนมากเป็นดาวในลำดับหลัก เมื่อดาวใกล้หมดอายุจะออกจากลำดับหลักไปเป็นดาวยักษ์แดง และมีวิวัฒนาการที่ต่างกันขึ้นอยู่กับมวลตั้งต้นที่กำเนิดเป็นดาว ดังนี้
  • ดาวฤกษ์ที่มีมวล <2 เท่าของดวงอาทิตย์ จบชีวิตเป็นดาวแคระห์ขาว (คาร์บอน) 
  • ดาวฤกษ์ที่มีมวล <8 เท่าของดวงอาทิตย์ จบชีวิตเป็นดาวแคระห์ขาว (ออกซิเจน) 
  • ดาวฤกษ์ที่มีมวล >8 เท่าของดวงอาทิตย์ จบชีวิตเป็นดาวนิวตรอน และพัลซาร์ 
  • ดาวฤกษ์ที่มีมวล >18 เท่าของดวงอาทิตย์ จบชีวิตเป็นหลุมดำ 


            วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ที่มีมวลสารต่างๆกัน วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์มวลสารมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆจะเป็นหลุมดำมวลสารมากกว่าดวงอาทิตย์มาก จะกลายเป็นดาวนิวตรอน และวาระสุดท้ายดาวฤกษ์มวลสารน้อย เช่น ดวงอาทิตย์ จะกลายเป็นดาวแคระ


            ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย เช่น ดวงอาทิตย์มีแสงสว่างไม่มากจะใช้เชื้อเพลิงในอัตราที่น้อย จึงมีชีวิตยาว และจบลงด้วยการไม่ระเบิด แต่จะกลายเป็นดาวแคระขาว สำหรับดาวฤกษ์ ที่มีมวลพอๆกับดวงอาทิตย์ จะมีช่วงชีวิตและการเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกับดวงอาทิตย์

            ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ มีมวลมาก สว่างมากจะใช้เชื้อเพลิงอย่างสิ้นเปลืองในอัตราสูงมากจึงมีช่วงชีวิตสั้นกว่า และจบชีวิตด้วยการระเบิดอย่างรุนแรง

            จุดจบของดาวฤกษ์ที่มวลมาก คือการระเบิดอย่างรุนแรง ที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา (supernova) แรงโน้มถ่วง จะทำให้ดาวยุบตัวลงกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ ในขณะเดียวกันก็มีแรงสะท้อนที่ทำให้ส่วนภายนอกของดาวระเบิดเกิดธาตุหนักต่างๆ เช่น ยูเรนียม ทองคำ ฯลฯ ซึ่งถูกสาด กระจายออกสู่อวกาศกลายเป็นส่วนประกอบของเนบิวลารุ่นใหม่ และเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์รุ่นต่อไป เช่นระบบสุริยะก็เกิดจากเนบิวลารุ่นหลัง ดวงอาทิตย์และบริวารจึงมีธาตุต่างๆทุกชนิด เป็นองค์ประกอบ ดังนั้น เนบิวลา ดาวฤกษ์ การระเบิดของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ โลกของเรา สารต่างๆและชีวิตบนโลก จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง


ดาวฤกษ์ที่ปรากฏบนท้องฟ้าจะมีสีต่างกัน เมื่อศึกษาอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์จะพบว่า สีของดาวฤกษ์มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ด้วย นักดาราศาสตร์แบ่งชนิดของดาวฤกษ์ตามสีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ได้ 7 ชนิด คือ O B A F G K และ M แต่ละชนิดจะมีสีและอุณหภูมิผิวดังตารางต่อไปนี้
ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/images/13-10.gif
สีของดาวฤกษ์นอกจากจะบอกอุณหภูมิของดาวฤกษ์แล้ว ยังสามารถบอกอายุของดาวฤกษ์ด้วย ดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยจะมีอุณหภูมิที่ผิวสูงและมีสีน้ำเงิน ส่วนดาวฤกษ์ที่มีอายุมากใกล้ถึงจุดสุดท้ายของชีวิตจะมีสีแดงที่ เรียกว่า ดาวยักษ์แดง มีอุณหภูมิผิวต่ำ ดาวฤกษ์แต่ละดวงจะมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ธาตุไฮโดรเจน และธาตุฮีเลียม พลังงานของดาวฤกษ์ทุกดวงเกิดจากปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ที่แก่นกลาง ของดาว แต่สิ่งที่ต่างกันของดาวฤกษ์ ได้แก่ มวล อุณหภูมิผิว ขนาด อายุ ระยะห่างจากโลก สี ความสว่าง ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ และวิวัฒนาการที่ต่างกัน
ชนิดสีดาวฤกษ์และอุณหภูมิ
ที่มาhttp://www.thaispaceweather.com/IHY/Stars/images/star03.bmp
วิดิโอ https://www.youtube.com/watch?v=GpCl3nvGLpE

กลุ่มดาว  (Constellations)
ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ๆ  กัน  เคลื่อนที่ไปพร้อมๆ  กันเรียกว่ากลุ่มดาว  ดลุ่มดาวบนท้องฟ้าแบ่งออกเป็น  88  กลุ่ม  ในแต่ละกลุ่มอาจมองเห็นตามจินตนาการของมนุษย์เป็นรูป  สัตว์  สิ่งของต่างๆ  เช่น  กลุ่มดาวเต่า  กลุ่มดาวจระเข้  กลุ่มดาวหมีใหญ่  กลุ่มดาวแมงป่อง  กลุ่มดาวที่อยู่บริเวณเส้นทางเดินของดวงอาทิตย์  เรียกว่า กลุ่มดาวในจักราศี  (Zodiac)  มี  12  กลุ่มดังนี้
กลุ่มดาวแกะ  (Aries)                                    เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนเมษายน
กลุ่มดาววัว  (Taurus)                                   เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนพฤษภาคม
กลุ่มดาวคนคู่  (Gemini)                                เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนมิถุนายน
กลุ่มดาวปู  (Cancar)                                     เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนกรกฎาคม
กลุ่มดาวสิงโต  (Leo)                                      เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนสิงหาคม
กลุ่มดาวหญิงสาว  (Virgo)                               เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนกันยายน
กลุ่มดาวคันชั่ง  (Libra)                                    เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนตุลาคม
กลุ่มดาวแมงป่อง  (Scorpius)                         เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนพฤศจิกายน
กลุ่มดาวคนยิงธนู  (Sagittarius)                      เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนธันวาคม
กลุ่มดาวแพะทะเล  (Capricornus)                 เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนมกราคม
กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ  (Aquarius)                เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนกุมภาพันธ์
กลุ่มดาวปลา  (Pisces)                                   เป็นกลุ่มดาวประจำเดือนมีนาคม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กาแล็กซี Galaxy

แรงเสียดทานมีกี่ประเภท ?

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ