กาแล็กซี Galaxy
กาแล็กซี (Galaxy)
กาแล็กซี คือ อาณาจักรหรือระบบของดาวฤกษ์จำนวนนับแสนล้านดวง อยู่รวมกันด้วยแรงโน้มถ่วงระหว่างดวงดาวกับหลุมดำที่มีมวลมหาศาล ซึ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี โดยมีเนบิวลาซึ่งเป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองที่เกาะอยู่ในที่ว่างบางแห่งระหว่างดาวฤกษ์
กาแล็กซี กำเนิดขึ้นหลังจากบิกแบง 1,000 ล้านปีเกิดจากกลุ่มแก๊สซึ่งยึดเหนี่ยวด้วยแรงโน้มถ่วงแยกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์จำนวนมากซึ่งเป็นสมาชิกของกาแล็กซี กาแล็กซีที่ระบบสุริยะสังกัดอยู่ คือ กาแล็กซีทางช้างเผือก นอกจากนี้ยังมีกาแล็กซีอื่นๆ ได้แก่ กาแล็กซีเอนโดรเมดา กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่ และกาแล็กซีแมกเจลแลนเล็ก
ประเภทของกาแลกซี
เมื่อสังเกตจากการนำภาพถ่ายมาวิเคราะห์เราอาจจำแนกชนิดของกาแลกซีจำแนกประเภทของ กาแลกซีได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ กาแลกซีรูปวงกลมรี กาแลกซีรูปกังหันและกาแลกซีอสัณฐาน
1. กาแลกซีรูปวงกลมรี (E,elliptical galaxies) ใช้อักษร Eแทนกาแลกซีพวกนี้แล้วต่อท้ายด้วยตัวเลขที่มีความหมายแทน 10 เท่าของความรีของแผ่นกาแลกซีที่ปรากฏเรียงลำดับรูปร่าง นับตั้งแต่เป็นทรงกลม E O ไปจนถึงกลมแบน E 7 มองด้านข้างคล้ายเลนส์นูน (บริเวณตรงกลางสว่างเป็นรูปไข่)


2. กาแลกซีรูปกังหัน หรือ แบบก้นหอย (S,Spiral galaxies) ใช้อักษร S แทน กาแลกซีพวกนี้และแบ่งออกเป็น a,b,c,และd มีหลักดังนี้ ความหนาแน่นของการขดของแกนกังหัน ความชัดเจนของการเห็นแกนกังหัน - ขนาดของนิวเคลียส
กาแลกรูปกังหัน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กาแลกซีรูปกังหันปกติ (Barred Spiral galaxies) บริเวณตรงใจกลางมีลักษณะคล้ายเลนส์นูนทั้งสองหน้า ขอบตรงข้ามมีแขน 2 แขนยืนออกมาแล้วหมุนวนรอบจุดศูนย์กลางไปทางเดียวกัน ระนาบเดียวกันและแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
กาแลกรูปกังหัน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กาแลกซีรูปกังหันปกติ (Barred Spiral galaxies) บริเวณตรงใจกลางมีลักษณะคล้ายเลนส์นูนทั้งสองหน้า ขอบตรงข้ามมีแขน 2 แขนยืนออกมาแล้วหมุนวนรอบจุดศูนย์กลางไปทางเดียวกัน ระนาบเดียวกันและแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- จุดกลางสว่าง บริเวณใจกลางขนาดใหญ่แบนบาง แขนม้วนงอชิดกัน เรียกว่า สไปรัล เอส เอ (Spiral Sa) - จุดกลางสว่างไม่มาก มีแขนหลวมๆ สองข้างเบนออกกว้าง เรียกว่า สไปรัล เอส บี (Spiral Sb) เช่น กาแลกซีทางช้างเผือก
- จุดกลางไม่เด่นชัด บริเวณใจกลางเป็นแกนเหล็ก แขนสองข้างใหญ่ ม้วนตัวอย่างหลวมๆ แยกออกจาก เรียกว่า สไปรัล เอส ซี (Spiral Sc)


3. กาแลกซีอสัณฐานหรือไร้รูปร่าง (Irr,Irregular galaxies) ใช้อักษร Irr แทนกาแลกซีพวกนี้ และแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- กาแลกซีอสัณฐาน1 (Irr I) เป็นกาแลกซีอสัณฐานที่มีสสารอยู่ระหว่างดาวเป็นจำนวนมาก พร้อมดาวฤกษ์อายุน้อยหรือดาวที่เพิ่งเกิดใหม่ มองเห็นเป็นความสว่างกระจัดกระจาย
- กาแลกซีอสัณฐาน 2 (Irr II) มีจำนวนน้อย รูปร่างไม่แน่นอน ไม่ปรากฏให้เห็นเป็นดาวแยกเป็นดวงๆ แต่ประกอบด้วยฝุ่นและก๊าซปริมาณมาก ตัวอย่างกาแลกซีพวกนี้ได้แก่ เมฆแมกเจลเลนใหญ่ และเมฆแมกเจลเลนเล็ก ซึ่งอยู่บนท้องฟ้าซีกโลกใต้ กาแลกซีสว่างมากๆ ประมาณ 2 ใน 3 จะเป็นกาแลกซีรูปกังหัน


กาแล็กซีทางช้างเผือก(The Milky Way Galaxy)
กาแลกซีทางช้างเผือก (The Milky Way Galaxy) โลกของเราอยู่ในกาแลกซีทางช้างเผือก เมื่อมองจากโลกจะมีลักษณะเป็นฝ้าขาวคล้ายเมฆบางๆ อยู่โดยรอบท้องฟ้า (คือ ดวงดาวประมาณแสนดวง) กาแลกซีทางช้างเผือก เป็นกาแลกซีแบบกังหันเนื่องจากมองด้านบนและด้านล่างจะเห็นว่ามีโครงสร้างเป็นรูปจาน หรือจักร หรือขดหอย (Spiral Structure) โดยจุดศูนย์กลางจะเป็นรูปวงรี (Ellipsoid) มีความยาวถึง 100,000 ปีแสงดวงอาทิตย์ของเราอยู่ทางแขนด้านขวาห่างใจกลางของกาแลกซีประมาณ 30,000 ปีแสง
การสังเกตทางช้างเผือก
การสังเกตทางช้างเผือก จะสังเกตได้จะมีดาวฤกษ์บริเวณทางช้างเผือกและใกล้เคียง ด้านซ้ายมือจะสังเกตเห็นกลุ่มดาวนายพราน ขวามือบนของกลุ่มดาวนายพราน คือ กลุ่มดาววัว ซึ่งมีดาวลูกไก่อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ด้านซ้ายมือจะเห็นกาแล็กซีแอนโรเมดา เหนือกาแล็กซีแอนโดรเมดา คือ กลุ่มดาวค้างคาว
ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก โดยระบบสุริยะอยู่ที่แขนของกาแล็กซีด้านกลุ่มดาวนายพราน อยู่ห่างจากศูนย์กลางกาแล็กซีประมาณ 30,000 ปีแสง ดังนั้น กาแล็กซีทางช้างเผือกจึงมีขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายกังหัน มีบริเวณกลางสว่าง มีแขนโค้งรอบนอกหลายแขน ระยะขอบหนึ่งผ่านจุดศูนย์กลางไปยังขอบหนึ่งยาว 100,000 ปีแสง ถ้ามองจากด้านบน จะเห็นเมือกังหัน แต่ดูจากด้านข้างจะคล้ายเลนส์นูนหรือจานข้าวประกบกัน
กาแล็กซีเพื่อนบ้าน
2.กาแล็กซีแมกเจลแลนเล็ก อยู่ห่างจากกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 196,000 ปีแสง ทั้งกาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่ กาแล็กซีแมกเจลแลนเล็ก เป็นชื่อที่ตั้งเป็นเกียรติแก่ เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน นักสำรวจชาวโปรตุเกส กาแล็กซีทั้งสองมีลักษณะคล้ายเมฆ จัดเป็นกาแล็กซีที่ไร้รูปร่าง อยู่ทางขอบฟ้าทางทิศใต้
3.กาแล็กซีแอนโดรเมดา มีรูปร่างคล้ายก้นหอยหรือกังหันเส้นผ่าศูนย์กลาง 105 ปีแสง มีดาวฤกษ์รวมกันอยู่ 400,000 ล้านดวง
กาแล็กซีแอนโรเมดามีลักษณะกลมขาวมัวๆใจกลางเป็นดาวสีแดง และดาวที่มีอายุมากบริเวณมีนบิวลา สว่าง กลุ่มแก๊สและฝุ่น กระจุกดาวทรงกลมประกอบด้วยดาวสีน้ำเงิน
เนบิวลา (Nebula) เป็นกลุ่มก๊าซและฝุ่นที่มีอยู่ระหว่างดาวฤกษ์ในระบบกาแลกซี ไม่มีแสงสว่างในตัวเองรวมกันอยู่อย่างหนาแน่นเป็นปริมาณมหาศาลมองผ่านกล้องโทรทรรศน์จะปรากฏเป็นฝ้ามัวๆ บริเวณที่กลุ่มฝุ่นและก๊าซรวมตัวกันและยึดด้วยแรงโน้มถ่วงของเนบิวลาจะทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ต่างๆ โดยทั่วไปเนบิวลามี 2 ลักษณะ คือ เนบิวลาสว่างกับเนบิวลามืด
1.เนบิวลาส่องสว่าง (Bright cmission nebula) เป็นเมฆก๊าซที่เปล่งแสงสว่างเรื่องขึ้น เพราะได้ดูดรังสีที่มาจากดาวฤกษ์ ในส่วนที่ห่อหุ้มไว้แล้วแผ่รังสีออกจากตัวโดยการที่อะตอมของตัวเองละระดับพลังงานลงดังนั้นจึงให้แสงเป็นเส้นสเปคตรัม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น